hourglass_full Your download should start automatically in a few seconds...

Download พระมะเหลเถไถ_Latest Version.apk from Apk-Dl Server

Thank you for using Apk-Dl.com to download the apk file (พระมะเหลเถไถ_Latest Version.apk),

If the download doesn't start automatically in a few seconds, please click here to access the download URL directly.

Note: Download and save the apk file to your Android Phone's SD card and install it manually onto the Android device.

Description

พระมะเหลเถไถเป็นกลอนบทละครที่ประพันธ์โดยคุณสุวรรณที่ประพันธ์ขึ้นตามจินตนาการและแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4มีความแปลกที่แต่งขึ้นเป็นภาษาบ้างไม่เป็นภาษาบ้างปะปนกันไปแต่ต้นจนปลายแต่ใครอ่านก็เข้าใจความได้ตลอดเรื่องถูกกล่าวหาในสมัยนั้นว่าแต่งเมื่อ “เสียจริต” หรือ“มีสติฟุ้งซ่านผิดปกติ” เป็นเรื่องแปลกในวงการกวียุคนั้น

ส่วนใหญ่วางถ้อยคำที่ไม่เป็นภาษาไว้ใน 3 คำท้ายวรรคทุกวรรคกระบวนการแต่งกลอนบทละครก็ดำเนินไปตามธรรมเนียมการแต่งตามแบบฉบับของบทละครมีการระบุชื่อเพลงที่ใช้ในการขับร้อง ขึ้นกลอนด้วยคำว่า “เมื่อนั้น”“บัดนั้น” “มาจะกล่าวบทไป” มีบทสระสรงแต่งองค์ทรงเครื่องของตัวละครมีบทพรรณนาธรรมชาติ มีบทเกี้ยวพาราสี บทชมนาง เป็นต้น

เนื้อเรื่องกล่าวถึง พระมะเหลเถไถ โอรส ท้าวโปลากะปาหงัน และนางตาลากะปาลัน แห่งเมืองกะโปลาเมื่อพระมเหลเถไถประพาสป่าพระอินทร์อุ้มสมจนได้นางตะแลงแกง พระธิดาท้าวมะไล เป็นชายา ขณะที่เดินทางกลับเกิดรบชิงนางกับเจ้ายักษ์มาลาก๋อย

ผลงานนี้สร้างชื่อเสียงแก่คุณสุวรรณเป็นอย่างมากจนทำให้เป็นที่รู้จักทั้งในหมู่หญิงชาววังและชนชั้นสูงทั่วไปโดยบทละครทั้งพระมะเหลเถไถและอุณรุทร้อยเรื่องได้รับการตีพิมพ์ในสมุดที่เรียกว่า เรื่องพระมะเหลเถไถเรื่อง 1กับอุณรุทร้อยเรื่อง

บทละครเรื่องนี้ยังเป็นวรรณกรรมที่วิพากษ์งานวรรณกรรมด้วยกันด้วยโดยล้อเลียนวรรณคดีแบบฉบับโดยเฉพาะบทละครใน เป็นที่สังเกตว่าคุณสุวรรณเลือกใช้คำที่ไม่มีความหมายในภาษาไทยมาใส่ในบทละครเป็นจำนวนมากแต่ผู้อ่านยังสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องจากบริบทแวดล้อมได้การวิพากษ์ในส่วนนี้ คือการใช้ภาษาชวามลายูในบทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาเนื่องจากบทประพันธ์เรื่องนี้ รัชกาลที่ 2ทรงสรรคำและปรับคำจากภาษาชวามลายูมาใช้ในบทละครเป็นจำนวนมากต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์นิราชพระมเหลเถไถ เพื่อล้อบทละครเรื่องนี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี